วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก


การผสมเทียม


การเลียงหมูหลุม


เรืองหมู หมู


การเลียงสุกรพื้นเมือง


การเลียงสุกร2


การเลียงสุกร


วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัณหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธ์

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)
ปัญหาความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของสุกรสาวและสุกรนาง (Reproduetive Failures In Gilts And Sows)
1) สุกรสาวไม่ยอมเป็นสัด สาเหตุ บางสายพันธุ์เป็นสัดช้าบางสายพันธุ์เร็ว เนื่องมาจาก
  • พันธุกรรม บางสายพันธุ์แสดงออกมาช้าบ้างเร็วบ้างบางครั้งก็เป็นสัดเงียบ สุกรที่ไม่เป็นสัดหลังผ่าน 10 เดือน จะมีการคัดทิ้ง ยกเว้นสุกรที่มีลักษณะพิเศษควรให้โอกาสแต่ไม่เกิน 1 ปี
  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สัดแสดงความเป็นสัดไม่เด่นชัด
  • สภาพทางโภชนาการ สุกรสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทำให้การพัฒนาของร่างกายช้า จะส่งผลไปถึงระบบสืบพันธุ์ เช่นเป็นสัดช้าหรือเสียความสมดุลในการสืบพันธุ์สำหรับถ้าให้อาหารน้อย แต่ถ้าให้อาหารมากเกินไปทำให้อ้วนและเป็นสัดช้า
  • ปัญหาในด้านสังคม เพราะไม่เคยพบปะกับสุกรเพศผู้ หรือการได้ยินหรือได้กลิ่นสุกรเพศผู้ แก้ได้โดยให้สุกรสาวมีการพบปะเพศผู้
2) สุกรนางไม่เป็นสัด สาเหตุ
  • สภาพร่างกายทรุดโทรม เนื่องมาจากช่วงอุ้มท้องและเลี้ยงลูกถูกดูแลไม่ดีโดยเฉพาะช่วงท้องแก่จะต้องการอาหารมากกว่าปกติ จึงต้องควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพดี แม่สุกรทรุดโทรมหลังช่วงหย่านม มักจะเป็นบ่อยในสุกรที่ให้ลูกครอกแรก การแก้ปัญหานี้ต้องดูว่าสุกรอ้วนหรือผอมส่วนมากจะให้แม่สุกรอ้วนนิด ๆ ในช่วงอุ้มท้องเพราะจะได้นำมาใช้ในช่วงเลี้ยงลูก และจะให้อาหารเป็นจำนวนมากในช่วงเลี้ยงลูกจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในทางปฎิบัติในการหย่านมจะลดอาหารประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อไม่ให้อาหารไปสร้างน้ำนม แต่หลังจากนั้นจะให้กินอาหารเต็มที่เพื่อพัฒนาร่างกายและการสืบพันธุ์ให้มีสุขภาพดี
  • เกิดการติดเชื้อโรคในมดลูก เป็นมดลูกอักเสบถ้าคลอดแล้วมดลูกจะกลับเข้าสภาวะปกติ แล้วไม่มีหนองไหลออกมา การติดเชื้ออาจมีสาเหตมาจากสุกรอาจคลอดยากทำให้ผู้เลี้ยงต้องทำคลอดโดยการใช้ครีมหรือใช้มือช่วยแต่อาจจะเป็นต้นเหตุให้นำเชื้อโรคเข้าไปได้ วิธีการแก้จะต้องสังเกตดู ถ้าช่องคลอดขยายใหญ่ในตอนคลอดจะเป็นเวลาที่เชื้อโรคเข้ายาก ถ้ามีอาการจะมีการฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อล้างช่องคลอด ในกรณีที่เป็นมากจะใช้โปรแตสเซียมโครแมงกาเนต
  • ความเครียด(Stress) ส่งผลต่อความเป็นสัด เนื่องมาจากอากาศร้อน อยู่อย่างหนาแน่นเกินไป ได้รับอาหารช้าและน้อยเกินไป จะส่งผลไปยังสมองที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
3) แม่สุกรเป็นสัดแต่ผสมไม่ติด เป็นปัญหาของสุกรแต่ละตัวจะเกิดจากการจัดการและเทคนิคการผสม แก้ไขโดย
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร และเทคนิคการผสมด้วยว่าระยะเวลาเหมาะสม และน้ำเชื้อได้เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์เพศเมียหรือไม่
  • การใช้งานพ่อสุกรหนักเกินไปหรือเปล่าจนไม่สามารถที่จะผลิตตัวอสุจิทัน
  • ตรวจสอบที่ตัวแม่สุกรว่าสาเหตุที่ผสมไม่ติดเพราะอะไร เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์หรือไม่
  • ดูที่อาหาร ว่ามีสารพิษจากเชื้อราตัวไหนที่ส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ติด เชื้อราที่พบมากที่สุด Aflatoxin หรือที่เรียก T2 Toxin, Vomitoxin เชื้อรานี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผสมไม่ติด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ไม่นิยมทำการแก้ไขเพราะทำได้ยาก
  • โรคในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ
    
ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของพ่อสุกร ความสามารถในการสืบพันธุ์แตกต่างกัน เนื่องมาจากผลทางพันธุกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์อาจมีสาเหตุ เช่น
1) ปัญหาทางพันธุกรรม
  • พ่อสุกรอาจมีความต้องการทางเพศน้อยซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ของพ่อสุกร เช่น อัณฑะเล็กเกินไป หรืออัณฑะไม่ได้รับการพัฒนาไปตามการเจริญเติบโต
  • พ่อสุกรอาจมีอวัยวะเพศ (Penis) สั้นเกินไปหรือเล็กเกินไป แต่จะพองออกไม่ออก จะสังเกตได้จากช่วงผสมพันธ ุ์แต่ก็สังเกตได้อีกก็คือว่าน้ำเชื้ออยู่ปากช่องคลอดของเพศเมีย หรือเลยคอมดลูกไป หรือสังเกตช่วงการรีดน้ำเชื้อ เพศผู้จะมี Penis ยาว 25 - 40 ซ.ม. ในช่วงยืดตัว
  • อาจเนื่องจากไม่มีความสนใจเพศเมียแต่สนใจในเพศเดียวกัน เป็นลักษณะที่ยากต่อการแก้ไข
  • สภาพร่างกายของพ่อสุกร ความแข็งแรงของข้อเท้าหรือกระดูก เมื่อขึ้นผสมพันธุ์แล้วข้อเท้าเจ็บจะทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกรแต่ละตัว ดูความเข้มข้นของตัวอสุจิ ตัวอสุจิมีความผิดปกติหรือไม่
  • ปริมาณน้ำเชื้อที่พ่อสุกรหลั่งออกมามากน้อยเพียงใด หรือเรียกอีกอย่างว่าการเป็นหมัน
2) การจัดการ อาจเนื่องมาจาก
  • อาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เท้าและข้อเท้าอาจเกิดจากการได้รับบาดแผล อุบัติเหตุจากการขึ้นผสมพันธุ์(พื้นลื่นอาจทำให้ล้ม)
  • การใช้งานของพ่อสุกร ดูว่ามีการใช้งานถี่หรือหนักเกินไป ถ้าหนักเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยหรืออาจเกิดการเป็นหมันชั่วคราว สุกรที่โตเต็มที่อาจใช้ได้ 5 - 6 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สุกรหนุ่ม 2 - 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจึงทำให้มีความต้องการทางเพศน้อยลง ควรจัดระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้พ่อสุกรที่ชอบเป็นพิเศษ
  • ด้านการจัดการและการจัดการฝึกหัด เมื่อสุกรโตเป็นหนุ่มควรให้ลองผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี
  • สภาพทางด้านโภชนาการหรืออาหาร อาจได้รับอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับน้อยเกินไปจะมีผลต่อการผสมพันธุ์ เพราะจะมีผลต่อการสร้างน้ำเชื้อ
  • มาจากคนดูแลพ่อสุกร อาจมาจากการให้เวลาพ่อสุกรผสมพันธุ์น้อย หรือปล่อยให้พ่อสุกรและแม่สุกรผสมพันธุ์กันเองโดยไม่ช่วยเหลือ
3) สภาพทางสรีระวิทยา พ่อสุกรที่แก่หรืออ้วนเกินจำเป็นต้องคัดทิ้ง เพราะความกระฉับกระเฉง และการสร้างตัวอสุจิลดลง
4) สภาพแวดล้อม มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสมบูรณ์และความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิสูงสุกรอาจเป็นหมันชั่วคราว การสร้างอสุจิก็จะได้รับผลกระทบด้วย

การจัดการคฟร์ามทั่วไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความเข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอและตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน
  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)
  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง

วีธีการตอนสุกร


การเลียงสุกร


วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การให้อาหาร

สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อใยมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม (โค กระบือ) ระบบการย่อยอาหารที่มีหน้าที่ย่อยอาหารที่สุกรกินเข้าไปให้แตกตัวจนมีขนาด เล็กลง เพื่อสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สุกรมีความต้องการโภชนะนั้น หมายถึง สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย 6 ชนิด
         น้ำ ให้น้ำสะอาดแก่สุกรตลอดเวลา ปกติสุกรจะกินน้ำประมาณ 5-20 ลิตรต่อวัน ตามขนาดของสุกร
         โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกร ช่วยสร้างเนื้อเยื่อและเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของร่างกายสัตว์ โปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโนอยู่ประมาณ 30 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็น 10 ชนิด ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน ทริพโตแฟน อาร์ยินิน ฮิสทิดีน ไอโซลูซีน ลูซีน อาลานีน ทรีโอนีน และวาลีน
         คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่เรียกง่าย ๆ ว่าอาหารแป้งและน้ำตาล รวมไปถึงเยื่อใยที่เป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์
         ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่น เดียวกับคาร์โบไฮเดรด แต่ให้พลังงาน
         แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิด ส่วนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม คลอรีน เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส โคบอลท์ โปตัสเซียม แมกนีเซียม และซิลิเนียม
         ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ไวตามินมีมากถึง 50 ชนิด ส่วนที่จำเป็นในร่างกายสัตว์ ได้แก่ ไวตามิน เอ ดี อี บี 2 (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซีน กรดแพนโทธินิค โคลีน ไบโอติน และบี 12 เป็นต้น
การให้อาหารสุกรระยะต่าง ๆ


       ลูกสุกรระยะดูดนมแม่
เริ่มให้อาหารสุกรนมโปรตีน 22% หรืออาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20% เมื่อลูกสุกรมีอายุ 10 วัน ถึงหย่านม (หย่านม 28 วัน) และให้ต่ออีกประมาณ 3 วัน หลังจากหย่านมแล้ว
       ลูกสุกรระยะหย่านม
(หย่านม 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม) ให้อาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20 % จนถึงอายุ 2 เดือน (น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม)
       สุกรระยะน้ำหนัก 20-35 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 18% โดยให้สุกรกินอาหารเต็มที่ สุกรจะกินอาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม
       สุกรระยะน้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 16% สุกรจะกินอาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม
       สุกรระยะน้ำหนัก 30 กิโลกรัม-ส่งตลาด ให้อาหารโปรตีน 14-15 % สุกรจะกินอาหารวันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม
       การให้อาหารสุกรพันธุ์ทดแทน สุกรตัวที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์(ยกเว้นสุกรขุน ,สุกรทดสอบพันธุ์) ควรจำกัดอาหารเพื่อไม่ให้อ้วนเกินไป เมื่อสุกรน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้อาหารวันละ 2.2.5 กิโลกรัม
       การให้อาหารสุกรพ่อพันธุ์ ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - พ่อพันธุ์ตัวใหญ่ 150 กิโลกรัมขึ้นไป ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม - พ่อพันธุ์ตัวเล็ก 100-150 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม
       การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้อง ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่สุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน ควรให้อาหารดังนี้ - แม่สุกรสาวทดแทนให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรหลังจากผสมพันธุ์ให้อาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 0-90 วัน ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่สุกรตั้งท้อง 90-108 วัน ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับสภาพแม่สุกรอ้วนหรือผอมด้วย) -แม่สุกรตั้งท้อง 108-114 วัน ให้อาหารวันละ 1-1.5 กิโลกรัม (เมื่อตั้งท้องได้ 108 วัน ให้ย้ายเข้าคอกคลอด)
       การให้อาหารแม่สุกรหลังคลอด ให้อาหารโปรตีนประมาณ 16% - คลอดลูกแล้ว 0-3 วัน ให้อาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม -คลอดลูก 3-14 วัน ให้อาหารวันละ 2-3.5 กิโลกรัม - คลอดลูก 14 วันขึ้นไป ให้อาหารเต็มที่เท่าที่แม่สุกรจะกินอาหารได้ หรือประมาณวันละ 4-6 กิโลกรัม ในกรณีที่แม่สุกรมีลูก 7 ตัวขึ้นไป (ควรให้อาหารแม่สุกรวันละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ดูตามสภาพของแม่สุกร ระวังอย่าให้แม่สุกรผอม)
       การให้อาหารแม่สุกรหลังหย่านม ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - แม่สุกรหย่านมในวันแรก ให้อาหารวันละ 1.1.5 กิโลกรัม - แม่สุกรหย่านมจาก 2 วันขึ้นไป จนถึงแม่สุกรเป็นสัด (แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน) ให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม เพื่อให้แม่สุกรสมบูรณ์พันธุ์เร็วขึ้นและเพิ่มการตกไข่ - แม่สุกรเป็นสัดและผสมพันธุ์แล้ว ลดอาหารลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่สุกรไม่เป็นสัดเกิน 15 วัน แสดงว่าแม่สุกรผิดปกติ ให้ลดอาหารลงเหลือวันละ 2 กิโลกรัม และหาวิธีการทำให้แม่สุกรเป็นสัด โดยทำให้แม่สุกรเกิดความเครียด ใช้วิธีต้อนขังรวมกัน (แม่สุกรขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกัน) หรือขังสลับคอกทุก ๆ 10 วัน ส่วนใหญ่แม่สุกรก็จะเป็นสัด ถ้าหากปฏิบัติเช่นนี้แล้วภายใน 1 เดือน แม่สุกรยังไม่เป็นสัด ควรคัดแม่สุกรออกไปจากฝูง
ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงสุกร
       ผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จัก เลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี วัตถุดิบตัวหลัก ๆ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ปลาป่น ปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด และไวตามินแร่ธาตุในรูปของพรีมิกซ์ แล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรแต่ละขนาด โดยใช้เครื่อง โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือ ผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวก โดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่ วิธีนี้จะประหยัด สามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มาก ซึ่งในเอกสารนี้ มีสูตรอาหารที่ใชเลี้ยงสุกรตั้งแต่สุกรนมจนถึงสุกรพ่อแม่พันธุ์
       ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ตั้งแต่สุกรนม สุกรอ่อน สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน และสุกรพันธุ์ ข้อดีคือสะดวกในการใช้และจัดหา ซึ่งอาหารสำหรับสุกรแต่ละขนาด จะมีจำหน่ายตามท้องตลาด ข้อเสียคือ ราคาจะแพง และผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง
       ใช้หัวอาหารสำเร็จ (ส่วนใหญ่จะมีโปรตีน ประมาณ 32-36 % และผสมไวตามินแร่ธาตุไว้ด้วยแล้ว) ใช้ผสมกับปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วน น้ำหนักที่ระบุจำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาดให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วย

การปรับปรุงสายพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์
         สุกรที่จะใช้ทำพันธุ์นั้นจะคัดเลือกจากลักษณะภายนอกและจากพันธุ์ประวัติ การคัดเลือกจากลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างลักษณะ ถูกต้องตามสายพันธุ์ พิจารณาความแข็งแรงของขา ขาไม่แอ่นเหมือนตีนเป็ด ลำตัวยาว อวัยวะเพศปกติ เต้านมไม่ต่ำกว่า 12 เต้า หัวนมไม่บอด ส่วนจากพันธุ์ ดูอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ความหนาไขมันสันหลัง และผลผลิตจากแม่พันธุ์ (ลูกดก)
การผสมพันธุ์
         เมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้วก็นำมาผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกต่อไป อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องนำสุกรจากที่อื่นเข้ามาปรับปรุงด้วย เพื่อป้องกันเลือดชิด สุกรเพศผู้จะเริ่มใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 7-8 เดือน น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม สุกรแม่พันธุ์ควรจะให้ลูกครอกแรกเมื่ออายุได้ 1 ปี แม่สุกรเป็นสัดแต่ละรอบ ระยะเวลาห่างกัน 21 วัน ตั้งท้อง 114 วัน ควรทำการผสมแม่พันธุ์ 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง (เช้า-เช้า หรือ เย็น-เย็น) หรือมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งดีโดยเริ่มผสมพันธุ์ในวันที่สองของการเป็นสัด
         แม่สุกรที่คลอดลูกแล้ว ควรหย่านมเมื่อลูกอายุ 4 สัปดาห์ และแม่สุกรจะเป็นสัดหลังจากหย่านมภายใน 3-10 วัน ทำการผสมพันธุ์ต่อได้เลย แม่สุกรควรให้ลูกปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครอก และผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตัว/แม่/ปี ในแม่สุกรพันธุ์แท้ ส่วนแม่สุกรลูกผสม (แลนด์เรซ - ลาร์จไวท์) ควรผลิตลูกได้ไม่ต่ำกว่า 18 ตัว/แม่/ปี แม่สุกรที่ผสมไม่ติดเกิน 3 ครั้ง ควรคัดออกจากฝูง
การผสม พันธุ์
มี 2 วิธี
1. ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
2. ผสมเทียม
         โดยใช้พ่อพันธุ์ผสมกับแม่พันธุ์ ในอัตราส่วน 1:10 พ่อพันธุ์สามารถใช้ ผสมพันธุ์จนถึงอายุ 3-4 ปี          โดยการฉีดน้ำเชื้อสุกรตัวผู้เข้าในอวัยวะเพศเมีย ในขณะที่ตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ ในปัจจุบันฟาร์มสุกรขนาดใหญ่และขนาดกลางนิยมใช้การผสมเทียมมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อ เช่น ได้พ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประหยัดค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อพันธุ์ ผสมเทียมใช้พ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ในอัตราส่วน 1: 50 และเกษตรกรรายย่อยสามารถทำการผสมเทียมเองได้ วิธีการผสมเทียมง่ายและสะดวก หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เช่น ศูนย์วิจัยการผสมเทียมมีบริการผสมเทียมในสุกร ซึ่งจำหน่ายน้ำเชื้อสุกรในราคาถูก

สายพันธ์

พันธุ์ สุกรจากต่างประเทศ และพันธุ์สุกรพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ตามรายละเอียด ดังนี้
      @ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 มีสีขาว หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
    พันธุ์ลาร์จ ไวท์       
       มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) หน้ายาว โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคือ อ่อนแอ มักจะมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธ
    พันธุ์ แลนด์เรซ      
      @มีถิ่นกำเนิด จากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว
  พันธุ์ดู ร็อคเจอร์ซี่     
       มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน
   พันธุ์เปียแตร ง     

การเตรียมโรงเรือน

โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้
   1. สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำ ไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น
   2. สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรงเรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน
   3. ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ ด้วยกัน ดูตามรูป ด้านบน
           แบบเพิง หมาแหงน

โรงเรือนแบบ นี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
           แบบเพิง หมาแหงนกลาย
จะเสียค่าใช้ จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
           แบบหน้าจั่ว
ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
           แบบจั่ว สองชั้น
เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
           แบบจั่ว สองชั้นกลาย
มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

    4. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น
    5. ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือน เย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร