วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัณหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธ์

ปัญหาทางด้านสุกรพ่อแม่พันธุ์ (Swine Breeding Problems)
ปัญหาความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของสุกรสาวและสุกรนาง (Reproduetive Failures In Gilts And Sows)
1) สุกรสาวไม่ยอมเป็นสัด สาเหตุ บางสายพันธุ์เป็นสัดช้าบางสายพันธุ์เร็ว เนื่องมาจาก
  • พันธุกรรม บางสายพันธุ์แสดงออกมาช้าบ้างเร็วบ้างบางครั้งก็เป็นสัดเงียบ สุกรที่ไม่เป็นสัดหลังผ่าน 10 เดือน จะมีการคัดทิ้ง ยกเว้นสุกรที่มีลักษณะพิเศษควรให้โอกาสแต่ไม่เกิน 1 ปี
  • สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สัดแสดงความเป็นสัดไม่เด่นชัด
  • สภาพทางโภชนาการ สุกรสาวที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทำให้การพัฒนาของร่างกายช้า จะส่งผลไปถึงระบบสืบพันธุ์ เช่นเป็นสัดช้าหรือเสียความสมดุลในการสืบพันธุ์สำหรับถ้าให้อาหารน้อย แต่ถ้าให้อาหารมากเกินไปทำให้อ้วนและเป็นสัดช้า
  • ปัญหาในด้านสังคม เพราะไม่เคยพบปะกับสุกรเพศผู้ หรือการได้ยินหรือได้กลิ่นสุกรเพศผู้ แก้ได้โดยให้สุกรสาวมีการพบปะเพศผู้
2) สุกรนางไม่เป็นสัด สาเหตุ
  • สภาพร่างกายทรุดโทรม เนื่องมาจากช่วงอุ้มท้องและเลี้ยงลูกถูกดูแลไม่ดีโดยเฉพาะช่วงท้องแก่จะต้องการอาหารมากกว่าปกติ จึงต้องควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพดี แม่สุกรทรุดโทรมหลังช่วงหย่านม มักจะเป็นบ่อยในสุกรที่ให้ลูกครอกแรก การแก้ปัญหานี้ต้องดูว่าสุกรอ้วนหรือผอมส่วนมากจะให้แม่สุกรอ้วนนิด ๆ ในช่วงอุ้มท้องเพราะจะได้นำมาใช้ในช่วงเลี้ยงลูก และจะให้อาหารเป็นจำนวนมากในช่วงเลี้ยงลูกจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในทางปฎิบัติในการหย่านมจะลดอาหารประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อไม่ให้อาหารไปสร้างน้ำนม แต่หลังจากนั้นจะให้กินอาหารเต็มที่เพื่อพัฒนาร่างกายและการสืบพันธุ์ให้มีสุขภาพดี
  • เกิดการติดเชื้อโรคในมดลูก เป็นมดลูกอักเสบถ้าคลอดแล้วมดลูกจะกลับเข้าสภาวะปกติ แล้วไม่มีหนองไหลออกมา การติดเชื้ออาจมีสาเหตมาจากสุกรอาจคลอดยากทำให้ผู้เลี้ยงต้องทำคลอดโดยการใช้ครีมหรือใช้มือช่วยแต่อาจจะเป็นต้นเหตุให้นำเชื้อโรคเข้าไปได้ วิธีการแก้จะต้องสังเกตดู ถ้าช่องคลอดขยายใหญ่ในตอนคลอดจะเป็นเวลาที่เชื้อโรคเข้ายาก ถ้ามีอาการจะมีการฉีดยาปฎิชีวนะเพื่อล้างช่องคลอด ในกรณีที่เป็นมากจะใช้โปรแตสเซียมโครแมงกาเนต
  • ความเครียด(Stress) ส่งผลต่อความเป็นสัด เนื่องมาจากอากาศร้อน อยู่อย่างหนาแน่นเกินไป ได้รับอาหารช้าและน้อยเกินไป จะส่งผลไปยังสมองที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
3) แม่สุกรเป็นสัดแต่ผสมไม่ติด เป็นปัญหาของสุกรแต่ละตัวจะเกิดจากการจัดการและเทคนิคการผสม แก้ไขโดย
  • ตรวจสอบความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกร และเทคนิคการผสมด้วยว่าระยะเวลาเหมาะสม และน้ำเชื้อได้เข้าสู่ระบบสืบพันธุ์เพศเมียหรือไม่
  • การใช้งานพ่อสุกรหนักเกินไปหรือเปล่าจนไม่สามารถที่จะผลิตตัวอสุจิทัน
  • ตรวจสอบที่ตัวแม่สุกรว่าสาเหตุที่ผสมไม่ติดเพราะอะไร เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์หรือไม่
  • ดูที่อาหาร ว่ามีสารพิษจากเชื้อราตัวไหนที่ส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ติด เชื้อราที่พบมากที่สุด Aflatoxin หรือที่เรียก T2 Toxin, Vomitoxin เชื้อรานี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผสมไม่ติด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ไม่นิยมทำการแก้ไขเพราะทำได้ยาก
  • โรคในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ
    
ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ของพ่อสุกร ความสามารถในการสืบพันธุ์แตกต่างกัน เนื่องมาจากผลทางพันธุกรรมและความสมบูรณ์พันธุ์อาจมีสาเหตุ เช่น
1) ปัญหาทางพันธุกรรม
  • พ่อสุกรอาจมีความต้องการทางเพศน้อยซึ่งเกิดจากการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ของพ่อสุกร เช่น อัณฑะเล็กเกินไป หรืออัณฑะไม่ได้รับการพัฒนาไปตามการเจริญเติบโต
  • พ่อสุกรอาจมีอวัยวะเพศ (Penis) สั้นเกินไปหรือเล็กเกินไป แต่จะพองออกไม่ออก จะสังเกตได้จากช่วงผสมพันธ ุ์แต่ก็สังเกตได้อีกก็คือว่าน้ำเชื้ออยู่ปากช่องคลอดของเพศเมีย หรือเลยคอมดลูกไป หรือสังเกตช่วงการรีดน้ำเชื้อ เพศผู้จะมี Penis ยาว 25 - 40 ซ.ม. ในช่วงยืดตัว
  • อาจเนื่องจากไม่มีความสนใจเพศเมียแต่สนใจในเพศเดียวกัน เป็นลักษณะที่ยากต่อการแก้ไข
  • สภาพร่างกายของพ่อสุกร ความแข็งแรงของข้อเท้าหรือกระดูก เมื่อขึ้นผสมพันธุ์แล้วข้อเท้าเจ็บจะทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อสุกรแต่ละตัว ดูความเข้มข้นของตัวอสุจิ ตัวอสุจิมีความผิดปกติหรือไม่
  • ปริมาณน้ำเชื้อที่พ่อสุกรหลั่งออกมามากน้อยเพียงใด หรือเรียกอีกอย่างว่าการเป็นหมัน
2) การจัดการ อาจเนื่องมาจาก
  • อาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่เท้าและข้อเท้าอาจเกิดจากการได้รับบาดแผล อุบัติเหตุจากการขึ้นผสมพันธุ์(พื้นลื่นอาจทำให้ล้ม)
  • การใช้งานของพ่อสุกร ดูว่ามีการใช้งานถี่หรือหนักเกินไป ถ้าหนักเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศน้อยหรืออาจเกิดการเป็นหมันชั่วคราว สุกรที่โตเต็มที่อาจใช้ได้ 5 - 6 ครั้ง ต่อสัปดาห์ สุกรหนุ่ม 2 - 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจึงทำให้มีความต้องการทางเพศน้อยลง ควรจัดระยะเวลาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้พ่อสุกรที่ชอบเป็นพิเศษ
  • ด้านการจัดการและการจัดการฝึกหัด เมื่อสุกรโตเป็นหนุ่มควรให้ลองผสมพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ที่ไม่ดี
  • สภาพทางด้านโภชนาการหรืออาหาร อาจได้รับอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับน้อยเกินไปจะมีผลต่อการผสมพันธุ์ เพราะจะมีผลต่อการสร้างน้ำเชื้อ
  • มาจากคนดูแลพ่อสุกร อาจมาจากการให้เวลาพ่อสุกรผสมพันธุ์น้อย หรือปล่อยให้พ่อสุกรและแม่สุกรผสมพันธุ์กันเองโดยไม่ช่วยเหลือ
3) สภาพทางสรีระวิทยา พ่อสุกรที่แก่หรืออ้วนเกินจำเป็นต้องคัดทิ้ง เพราะความกระฉับกระเฉง และการสร้างตัวอสุจิลดลง
4) สภาพแวดล้อม มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสมบูรณ์และความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิสูงสุกรอาจเป็นหมันชั่วคราว การสร้างอสุจิก็จะได้รับผลกระทบด้วย

การจัดการคฟร์ามทั่วไป

การจัดการฟาร์มทั่วๆไป
การจัดการเลี้ยงดูสุกรจะเป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก เพื่อต้องการผลิตลูกสุกร
1) การจัดการพ่อสุกร (Boar Management)
  • เมื่อสุกรที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ อายุ 5 เดือน ต้องแยกออกมาเลี้ยงต่างหากเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต,ควบคุมน้ำหนัก
  • ฝึกให้สุกรที่แยกออกมาได้เห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของสุกรตัวอื่น ๆ
  • อายุ 8 เดือน เริ่มใช้งานพ่อสุกรได้ (ต้องใช้ให้เหมาะสม)
  • อายุ 8 เดือน - 1ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 1- 2ครั้ง
  • อายุ มากกว่า 1 ปี ควรใช้งานสัปดาห์ละ 3- 5ครั้ง
  • ไม่ควรให้สุกรทำงานหนักเกินไป
  • อายุการใช้งานของพ่อสุกร มีประมาณ 2ปี ครึ่ง
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 15 ตัว (แบบผสมจริง)
  • อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ 1: 60-100 ตัว (แบบผสมเทียม)
  • ต้องมีการตรวจเช็คน้ำเชื้อพ่อสุกรเป็นระยะเพื่อดูปริมาณความเข้มข้นของตัวอสุจิว่ามีเท่าไร,ดูตัวเป็นตัวตายของตัวอสุจิ,ดูการพัฒนาของตัวอสุจิ,ดูความแข็งแรงของตัวอสุจิ
  • เวลาในการผสมพันธุ์ ควรมีอากาศเย็น อาจเป็นช่วงเช้า 6-8 โมง หรือตอนเย็น ตั้งแต่ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป
  • การให้อาหารพ่อสุกร ควรให้ในปริมาณ 2 - 2 กิโลครึ่ง/ตัว/วัน
  • ให้วัคซีนกับพ่อสุกรโดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นโรคสำคัญ
การตอนพ่อสุกร เมื่องดการใช้งานแล้ว เพื่อกำจัดกลิ่นของพ่อสุกร และก่อนทำการตอนต้องให้อดอาหาร24 ชั่วโมง ให้กินแต่น้ำ เพื่อที่จะสะดวกในการมัดสุกร,เลือดไหลน้อย
ขั้นตอนการตอนพ่อสุกร
  1. ฉีดยาสลบ(ต้องมัดสุกรก่อนโดยมัดที่ปากก่อนแล้วจึงมัดเท้าทั้ง4เท้า)
  2. ทำความสะอาดบริเวณอัณฑะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  3. ใช้มีดกรีดอัณฑะ(กรีดตามแนวยาว)ความยาวของแผลให้เหมาะสมที่จะบีบลูกอัณฑะออกมา
  4. บีบลูกอัณฑะออกมา
  5. ใช้เชือกรัดส่วนที่เป็นท่อนำน้ำเชื้อ(Spermatic Cord) แล้วจึงตัดออกมา
  6. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ทิงเจอร์ โรยด้วยยากันแมลง(ลูกเหม็นบดก็ได้)
  7. เย็บบาดแผล
  8. ฉีดยาปฎิชีวนะให้แก่พ่อสุกรเพื่อป้องกันการอักเสบ
  9. แก้มัดพ่อสุกร
การจัดการสุกรแม่พันธุ์ (ตั้งแต่เริ่ม)
  • สุกรสาวที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์ เมื่ออายุประมาณ 5เดือน น้ำหนักตัว 80-90 กิโลกรัม ให้แยกออกมาเลี้ยงต่างหาก เพื่อที่ต้องทำการควบคุมน้ำหนัก อายุที่จะเริ่มใช้งานต้องไม่ต่ำกว่า 7 เดือน
  • ช่วงใกล้เป็นสัดจะมีการเพิ่มอาหาร(Flushing/การปรนอาหาร)ให้สุกรโดยเฉพาะอาหารที่ให้ค่าพลังงานเพื่อให้มีอัตราการตกไข่มากขึ้น โดยให้เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยให้ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จากปกติ 2 กิโลกรัม ให้ก่อนเป็นสัด 1-2 สัปดาห์
  • อายุการใช้งานของแม่สุกรนั้น จะให้ลูก 5.5 คลอก/ตัว
  • สำหรับสุกรที่รอผสมพันธุ์ ต้องตรวจเช็คการเป็นสัดทุกวัน(เช้า - เย็น) สุกรที่รอผสมพันธุ์มักเลี้ยงรวมกัน
  • ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 2 ของการเป็นสัด
  • หลังจากผสมแล้วทำการแยกสุกรไปอยู่ในคอกเดี่ยว ลดอาหารลงให้อยู่ในระดับปกติโดยประมาณ 1.8 - 2.2 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 เดือนของการอุ้มท้อง และเพิ่มอาหาร(Flushing)ในเดือนที่ 3 จนถึงคลอด (เพิ่ม ครึ่ง - 1 กิโลกรัม)
  • หลังจากผสมแล้ว ต้องตรวจเช็คการผสมติด โดยตรวจเมื่อใกล้กำหนดเป็นสัดอีกครั้ง
  • การเข้าซองอุ้มท้องเข้าโดยการเรียงตามลำดับก่อน - หลัง(ผสมก่อนเข้าก่อน)
  • ก่อนครบกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ให้ย้ายสุกรไปที่ซองคลอด และให้อาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น รำ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การจัดการแม่สุกรระหว่างคลอด
  • ถ้ามีนมน้ำเหลืองไหลแสดงว่าแม่สุกรจะคลอดภายใน 24 ชม.
  • ต้องดูว่าแม่สุกรคลอดปกติหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาต้องทำการช่วยแม่สุกรคลอด
  • ลูกสุกรที่เกิดมา แล้วให้ทำการเช็ดเมือกบริเวณตัว,ปาก,จมูก ด้วยผ้า
  • ผายปอด(บีบช่องอก)หากลูกสุกรทำท่าจะไม่รอด
  • ผูกสายสะดือลูกสุกรด้วยเชือกที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยห่างจากช่องท้อง 2 นิ้ว แล้วตัดสายสะดือออกให้สั้น
  • ตัดเขี้ยวหรือฟันน้ำนมของลูกสุกรทั้ง 8 เขี้ยว โดยตัดให้ขนานกับเหงือกอย่าตัดเฉียง
  • การตัดหาง นั้นจะตัดหรือไม่ตัดก็ได้แต่ถ้าจะตัดต้องตัด 1 ใน 3 ของหาง
  • ทาทิงเจอร์บริเวณที่ตัดสายสะดือและหางที่ตัด
  • ให้ลูกสุกรได้รับความอบอุ่น และรอจะกว่าแม่สุกรจะคลอดเสร็จ
  • ให้ลูกสุกรได้กินนมน้ำเหลือง( Colostrum มีประมาณ 1 - 2วันแรก)ซึ่งในน้ำนมนั้นจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ถ้าไม่ได้กินลูกสุกรอาจอ่อนแอและตายได้ง่าย
การจัดการแม่สุกรหลังการคลอด
  • การให้อาหารนั้นไม่ต้องให้มาก ค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละนิด
  • สังเกตว่าเต้านมของแม่สุกรนั้นว่าอักเสบหรือไม่อาการของเต้านมอักเสบจะมีลักษณะสีค่อนข้างแดง(ปกติจะสีชมพู) เต้านมจะแข็ง
  • สังเกตว่ามดลูกอักเสบหรือไม่ ถ้าอักเสบจะมีน้ำหนองไหล ต้องล้างมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือทำการฉีดยา
  • การดูแลลูกสุกรนั้นต้องตรวจดูว่า มีน้ำนมให้ลูกสุกรพอกินหรือเปล่า ให้ลูกสุกรทุกตัวได้ดูดนม
  • ให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรโดยการให้ไฟกกและมีวัสดุรองพื้นถ้าอากาศเย็น
  • ในสัปดาห์ที่แรกที่ลูกสุกรเกิด ต้องทำการฉีดธาตุเหล็ก 2 cc.ให้แก่ลูกสุกร เนื่องจากในน้ำนมมีธาตุเหล็กน้อย เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง,ขี้ไหล
  • ให้หมายเลขประจำตัวแก่ลูกสุกร โดยอาจสักที่ใบหู ,ป้ายหนีบที่ใบหู,แต่วิธีที่นิยมคือวิธีตัดใบหู
  • ในสัปดาห์ที่ 2 เริ่มให้อาหารลูกสุกรทีละนิดในรางอาหาร
  • ถ้าลูกสุกรตัวผู้ที่จะไม่นำมาทำพันธุ์แล้วให้ทำการตอนในช่วงสัปดาห์ที่ 2
  • ในช่วงสัปดาห์ ที่ 2 - 3 ให้แม่สุกรกินอาหารเต็มที่ (3 ครั้ง/วัน )และเริ่มลดอาหารก่อนหย่านม 3 -4วันในแม่สุกร
การจัดการสุกรขุน
  • สุกรนั้นอาจได้มาจากฟาร์มที่เราเลี้ยงหรือซื้อมาจากที่อื่นถ้าซื้อมาจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่
  • ต้องเตรียมโรงเรือนให้เรียบร้อยก่อนที่สุกรจะมาถึง
  • ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
  • เตรียมยาปฎิชีวนะให้พร้อม
  • ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับสุกรในฟาร์ม และเมื่อนำเข้าคอกพักยังไม่ต้องให้น้ำทันที รอประมาณ 15 - 20 นาทีให้สุกรพักก่อนแล้วจึงให้น้ำอาจผสมยาปฎิชีวนะด้วยก็ได้
  • ขณะที่สุกรอยู่ในคอกพักถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ทึบ แล้วต้องการจะให้สุกร ถ่ายตรงไหนให้นำมูลสุกรไปวางไว้ตรงนั้นหรือถ้าต้องการให้กินอาหารตรงไหน ก็ให้โรยอาหารลงบนบริเวณนั้น
  • ถ้านำสุกรมาจากที่อื่นต้องถามเจ้าของฟาร์มที่นำสุกรมาว่าให้ยาหรือวัคซีนสุกรบ้างแล้วหรือยัง
    วัคซีนสำหรับสุกรขุนจะเป็นประเภท วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร,ปากและเท้าเปื่อย(เน้นอหิวาห์สุกรมากกว่า)
  • ต้องคัดสุกรขนาดไล่เรี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
  • สังเกตว่าสุกรกินอาหารหรือไม่ มีอาการท้องเสียหรือเปล่า
  • ระยะสุกรขุนมีการจำกัดอาหาร 10 - 15% ของอาหารที่กินได้เต็มที่
  • สังเกตมูลไม่ควรเหลว ความกระปี้กระเป่า,ผิวพันธุ์ของสุกร(เป็นมัน,ขนเงา)ปัสสาวะต้องใส
  • ในสุกรขุนอาจมีการใส่สารกระตุ้นเพื่อให้ได้เนื้อแดงมากขึ้นแต่ก็จะมีผลตกค้างในเนื้อสุกร
การทำเครื่องหมาย(Identification)
  1. สักที่ใบหู ยุ่งยาก
  2. ติดเบอร์พลาสติกที่ใบหู มีหมายเลขติดอยู่
  3. ตัดใบหู มีหลายแบบ (มีเบอร์ประจำตัวล้วน ๆ & เบอร์ประจำตัว + เบอร์ประจำคลอก)
  • สุกรพันธุ์มีทั้งเบอร์ประจำตัวและเบอร์ครอก
  • สุกรขุนและสุกรลูกผสมจะมีแต่เบอร์ตัว
  • สุกรที่ใบหูใหญ่ จะแบ่งหูเป็น 3 ส่วน เช่น พันธุ์ Large White
  • การตัดใบหูตัดจากหลักน้อย ๆ ก่อน เวลาอ่านอ่านหลักมาก ๆ ก่อน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรที่ใบหูเล็ก จะแบ่งหูเป็น 2 ส่วน เช่น Duroc แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง
  • สุกรลูกผสมและสุกรขุน แบ่งหูออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนตัดได้อย่างมาก 2 ครั้ง

วีธีการตอนสุกร


การเลียงสุกร